การพัฒนาสถานศึกษาตามกรอบอาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ด้วย 2NPS Model

ในการดำเนินการพัฒนา ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาอย่างมีระบบโดยศึกษาเอกสารงานวิจัย รวมทั้งประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจนเกิดการวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การพัฒนาสถานศึกษาตามกรอบอาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ด้วย 2NPS Model ดังนี้

1. การวางแผน (Plan) ได้ดำเนินการศึกษาเอกสารทฤษฎี เอกสารหลักสูตร กฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนอาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ และสำรวจความต้องการของชุมชน ผู้เรียนถึงเป้าหมายในการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมบุคลากร แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนอาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ วางแผน   ผู้บริหาร คณะครูทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

2. การดำเนินงาน (Do) ได้ดำเนินงานตามกรอบ 2NPS Model ดังนี้

          1. ความสำคัญ (Necessary) ผู้บริหารได้ดำเนินการประชุม ชี้แจง กล่าวแสดงถึงความสำคัญของอาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ แก่คณะครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในวาระต่าง ๆ เช่น การประชุมบุคลากรประจำเดือน การประชุมผู้ปกครอง การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมในองค์กร ชุมชนต่าง ๆ เป็นต้น

          2. เครือข่าย (Network) ผู้บริหารดำเนินการสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกสถานศึกษาให้มีส่วนในการช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาสถานศึกษาตามกรอบอาชีวนวัตวิถี เช่น โรงไฟฟ้าน้ำพอง โรงงานน้ำตาล อำเภอ เทศบาลน้ำพอง สถานศึกษาเครือข่าย สถานีตำรวจภูธรอำเภอน้ำพอง หน่วยงานการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย เป็นต้น

          3. การมีส่วนร่วม (Participation) ผู้บริหารสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา การมีส่วนร่วมแบ่งเป็น ทีมนำ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ทีมประสาน ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มสาระ หัวหน้าระดับสายชั้น หัวหน้างาน ทีมทำ ได้แก่ ครูผู้สอน ครูคู่ Buddy ครูในกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมภายนอก คือ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล เทศบาล อำเภอ ร่วมถึงชุมชน องค์กรเอกชน เป็นต้น ซึ่งได้ดำเนินการโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนสู่ความการสร้างนวัตกรรมเพื่อชมุชนตามจุดเน้นอาชีววิถี กิจกรรมชุมนุมอาชีพ การอบรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้นหรือหลักสูตร ส่งเสริมทักษะอาชีพรายวิชาเพิ่มเติม ตามความต้องการของผู้เรียน การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สาขาวิชาชีพในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา การเสริมสร้างอาชีพสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา เป็นต้น

          4. การสนับสนุน (Support) ผู้บริหารสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ทั้ง บุคลากร (Man) ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะการดำเนินการจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน มีคนเป็นผู้ดำเนิน เงิน (Money) เป็นปัจจัยในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาประกอบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ใช้ปริมาณเงินที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่ว่ากิจกรรมนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่  วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิต ดังนั้น ผู้บริหารต้องรู้จักบริหาร วัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ และทำให้การดำเนินกิจกรรมเกิดประโยชน์สูงสุด วิธีปฏิบัติงาน (Method) ซึ่งการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ควรมีการวางแผน และควบคุม ให้การปฏิบัติงานนั้นมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังส่งเสริมสนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมอาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ เช่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โครงการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนสู่ความการสร้างนวัตกรรมเพื่อชมุชนตามจุดเน้นอาชีววิถี โครงงานวิทยาศาสตร์เคมีกับการแก้ปัญหา การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ ครูผู้สอนปีการศึกษา 2567 เพื่อพัฒนาครูให้มีความเข้าใจในรายวิชา สามารถปรับแนวทาง เทคนิคและวิธีการการจัดการเรียนการสอนรายวิชา IS การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพสำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียนรุ่นที่ 3-4 ระดับมัธยมศึกษา โครงการการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะศิลปะสู่อาชีพ การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สาขาวิชาชีพในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา กิจกรรมฝึกทักษะปฏิบัติการฟิสิกส์และเคมี ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ขอนแก่น กิจกรรมติว Netsatคณิตศาสตร์ โดยวิทยากรภายนอก ตามโครงการส่งเสริมอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การพัฒนาทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

          3. การตรวจสอบ (Check) ทีมนำ ทีมประสาน นิเทศ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ เป็นประโยชน์ คุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด เน้นการประเมินปัญหา จุดอ่อน ข้อดี จุดแข็ง ที่มีในการดำเนินการ และจัดให้มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียน สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ การวิเคราะห์ผลการศึกษาต่อของผู้เรียนในสถาบันต่าง ๆ

4. ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อเนื่อง (Act) การนำผลประเมินที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแผน ในการปรับปรุงต่อไป ในส่วนนี้ควรจะเสนอแนะปัญหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาระบบที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด ทำการระดมสมอง เพื่อหาทางแก้ไข ปัญหา จุดอ่อน ข้อดี จุดแข็ง ที่พบ ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น นำผลที่ได้จากการระดมสมองเสนอผู้เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาใช้วางแผน กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผน กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินงานครั้งต่อไป

Loading

Related Post